ชุมชนของประเทศไทย ปี พศ...

540
2559 รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอย ชุมชนของประเทศไทย .. ส่วนขยะมูลฝอยและส ่งปฏกูล สํานักจัดการกากของเสยและสารอันตราย กรมควบคุมมลพษ กุมภาพันธ์ 2560

Transcript of ชุมชนของประเทศไทย ปี พศ...

  • 2559รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิง่ปฏิกูลสํานักจัดการกากของเสียและสารอนัตราย กรมควบคุมมลพิษ

    กุมภาพันธ์ 2560

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    1

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    คํานํา

    จากการกําหนดให้ ขยะมูลฝอย เป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนของประเทศต้องให้

    ความสําคัญและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเป็นการเร่งด่วน และต้องดําเนินการแก้ไขปัญหาให้ครบถ้วนตั้งแต่ต้นทางจนกระทั้งถึงปลายทาง ทั้งน้ี กรมควบคุมมลพิษ ซ่ึงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่รับผิดชอบโดยตรงในการแก้ไขปัญหามลพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษจากขยะมูลฝอยชุมชน จึงได้ดําเนินการประเมินสถานการณ์และความรุนแรงของปัญหาด้านมลพิษขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย โดยร่วมกับ สํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดรวมทั้งได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร ในการสนับสนุนข้อมูล จัดส่ง และตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งร่วมอํานวยความสะดวกให้สํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคทั้ง 16 ภาคและสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ในการลงพ้ืนที่เพ่ือสํารวจและรวบรวมข้อมูลด้านการจัดการขยะ มูลฝอยชุมชน

    กรมควบคุมมลพิษ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลที่ได้จากการประเมินสถานการณ์ขยะมูลฝอยของ

    ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในการใช้ประกอบการพิจารณาดําเนินการ ที่เกี่ยวข้อง เพ่ือแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ให้ทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคประชาชนเห็นถึงปัญหาขยะมูลฝอย และให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพ่ือคุณภาพชีวิตและส่ิงแวดล้อมที่ดี

    สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย สํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคที่ 1 – 16

    สํานักงานทรพัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    2

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    สารบัญ

    บทที่ 1 บทนํา 3

    บทที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอย ป ี2559 7

    บทที่ 3 สถานทีก่ําจัดขยะมูลฝอยทีป่ระสบปัญหาไม่สามารถก่อสร้างหรือเปิดดําเนินการได้ 23

    บทที่ 4 จังหวัดทีม่ีวิกฤตปัญหาด้านขยะมูลฝอยตกค้าง 27

    บทที่ 5 จังหวัดทีม่ีวิกฤตปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย 32

    ภาคผนวก ก ข้อมูลการสํารวจขยะมูลฝอยทั่วประเทศ 39

    ภาคผนวก ข สถานทีก่ําจัดขยะมูลฝอยทัว่ประเทศ 365

    ภาคผนวก ค สถานทีก่ําจัดขยะมูลฝอยทีป่ระสบปัญหาไม่สามารถก่อสร้างหรือเปิดดําเนินการได้(จังหวั 492

    ภาคผนวก ง คะแนนการจดัลําดับจังหวัดที่มีวิกฤตปญัหาด้านขยะตกค้าง 500

    ภาคผนวก จ คะแนนการจดัลําดับจังหวัดที่มีวิกฤตปญัหาด้านการจัดการขยะมลูฝอย 504

    ข้อแนะนํา 508

    คณะผู้จัดทํา 537 2

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    3

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    บทที่ 1 บทนํา

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    4

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    บทที่ 1 บทนํา

    1.1 สถานการณ์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนทั่ว

    ประเทศ มีแนวโน้มที่เพ่ิมข้ึนในทุกปี ทั้งน้ี หากพิจารณาถึงอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของประเทศก็มีแนวโน้มที่เพ่ิมมากข้ึน ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนของประเทศไทย 27.06 ล้านตัน ซ่ึงคิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอยที่ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน

    ตารางที่ 1 ปริมาณและอัตราขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ป ี2551 - 2559 ปี พ.ศ. ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น

    (ล้านตัน)อัตราการเกิดขยะมูลฝอย

    (กิโลกรัม/คน/วัน) 2551 23.93 1.03 2552 24.11 1.04 2553 24.22 1.04 2554 25.35 1.08 2555 24.73 1.05 2556 26.77 1.15 2557 26.19 1.11 2558 26.85 1.13 2559 27.06 1.14

    หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2551 – 2555 ได้จากการคาดการณ์ และข้อมูลปี 2556 - 2559 ได้จากการสํารวจข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยสํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคและสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัด

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    5

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    รูปที่ 1 สถานการณ์ขยะมูลฝอย ป ี2551 - 2559

    สําหรับประเทศไทย ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มสูงข้ึนทุกปี รวมทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปกําจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนํากลับมาใช้ประโยชน์ก็มีแนวโน้มที่เพ่ิมมากข้ึนเช่นเดียวกัน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน และประชาชนมีความใส่ใจในการดําเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยเพิ่มมากข้ึน ตารางที่ 2 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกําจดั และถูกนํามาใช้ประโยชน์ ป ี2551 - 2559 ปี พ.ศ. ปริมาณขยะมูลฝอยที่

    เกิดขึ้น ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูก

    กําจัดอย่างถูกต้องปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูก

    นํามาใช้ประโยชน์ (ล้านตัน) (ล้านตัน) (ร้อยละ) (ล้านตัน) (ร้อยละ)

    2551 23.93 5.69 24% 3.45 14%2552 24.11 5.97 25% 3.86 16%2553 24.22 5.77 24% 3.90 16%2554 25.35 5.64 22% 4.10 16%2555 24.73 5.83 24% 5.28 21%2556 26.77 7.27 27% 5.15 19%2557 26.19 7.88 30% 4.82 18%2558 26.85 8.34 31% 4.94 18%2559 27.06 9.57 35% 5.81 21%

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    6

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    จากสถานการณ์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนมีอัตราการเพ่ิมข้ึนสูงทุกปี ในขณะที่

    อัตราขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปกําจัด และอัตราขยะมูลฝอยที่ถูกนํามาใช้ประโยชน์ มีแนวโน้มเพิ่มข้ึนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ วิกฤตปัญหาขยะมูลฝอย จึงถือเป็นหนึ่งในปัญหาส่ิงแวดล้อมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากปัญหาทวีความรุนแรงมากข้ึนทั้งด้านปริมาณขยะมูลฝอยที่เพ่ิมมากข้ึน รวมทั้งสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนินการไม่ถูกต้องยังคงไม่ได้รับการปรับปรุง รวมทั้งในสังคมเมืองที่มีการขยายตัวสูงตามจํานวนประชากรที่เพิ่มข้ึน และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการบริโภคเพ่ิมสูงข้ึน ทําให้ปริมาณขยะมูลฝอยในสังคมเมืองเพ่ิมข้ึนตามไป

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    7

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    บทที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอย ปี 2559

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    8

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    บทที่ 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอย ปี 2559

    2.1 การได้มาซึ่งข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอย

    2.1.1 การสํารวจขอ้มูลผ่านแบบสํารวจข้อมูล กรมควบคุมมลพิษ โดยสํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย ประสานแจ้ง สํานักงาน

    ส่ิงแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 และสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ผ่านโครงการสํารวจข้อมูลขยะมูลฝอยทั่วประเทศ เพ่ือขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตําบล องค์การบริหารส่วนตําบล และเมืองพัทยา) ในการสํารวจข้อมูลขยะมูลฝอย โดยขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวกรอกข้อมูลในแบบสํารวจข้อมูลด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน แล้วส่งกลับมายัง สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด รวบรวมและส่งสํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 เพ่ือให้สํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคทั้ง 16 ภาค เป็นผู้รวบรวมในพ้ืนที่จังหวัดที่รับผิดชอบ และดําเนินการตรวจสอบเบื้องต้น และส่งกลับกรมควบคุมมลพิษเพื่อดําเนินการตรวจสอบในข้ันตอนสุดท้าย พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลต่อไป

    2.1.2 การสํารวจภาคสนาม

    สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และสํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคท่ี 1 – 16 ลงพ้ืนที่สํารวจภาคสนามร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนเจ้าของสถานที่กําจัดขยะมูลฝอย เพ่ือประเมินปริมาณขยะมูลฝอยในพ้ืนที่ สถานภาพการเดินระบบกําจัดขยะมูลฝอย พร้อมทั้งดําเนินการเก็บตําแหน่งที่ตั้ง ภาพถ่าย และข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสถานท่ีกําจัดขยะมูลฝอย และพ้ืนที่ลักลอบท้ิงของจังหวัดนั้น ๆ พร้อมท้ังดําเนินการประเมินสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยว่าดําเนินการได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือยอมรับได้ หรือดําเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและจําเป็นต้องดําเนินการปรับปรุงให้ถูกต้อง

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    9

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    2.2 แผนการไหล (Flow Diagram) และคํานิยาม

    2.2.1 แผนการไหลของขยะมูลฝอย (Flow Diagram)

    รูปที่ 2 แสดงแผนผังการไหลของขยะมูลฝอยชุมชน

    2.2.2 คํานิยาม

    แผนการไหลของขยะมูลฝอย (Flow Diagram) ประกอบด้วย ข้อมูล 20 ช่อง (Box) โดยแบ่งการไหลของขยะมูลฝอย ออกเป็น 2 พ้ืนที่ (Zone) หรือ 2 กลุ่มข้อมูล ได้แก่

    1. กลุ่มพ้ืนที่ที่มีการให้บริการ (เก็บขนไปกําจัด) ได้แก่ ข้อมูลตั้งแต่ช่องที่ 2 -14 โดยมีรายละเอียดดังนี้ - ช่องที่ 2 คือ จํานวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการให้บริการการเก็บขนขยะมูลฝอย ไม่ว่า

    จะดําเนินการเอง จ้างเอกชนดําเนินการ หรือจ้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินดําเนินการเก็บขนแทน (แห่ง)

    - ช่องที่ 3 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนในพื้นที่ให้บริการ (ล้านตัน/ปี) โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้จากการสํารวจของข้อมูลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดําเนินการสํารวจปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนจริงในพ้ืนที่จากแหล่งกําเนิดขยะมูลฝอยในพ้ืนที่ (ไม่ใช่ขยะมูลฝอยที่นํามาท้ิงในถังขยะ)

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    10

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ไม่สามารถดําเนินการสํารวจปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนจริงได้ อาจสามารถใช้การคํานวณ อัตราการเกิดขยะมูลฝอย (จากการศึกษาของกรมฯ) (ตารางที่ 3) คูณด้วย จํานวนประชากรตามทะเบียนราษฏร์ในพ้ืนที่ให้บริการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนําเสนอข้อมูลขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนโดยข้อมูลดังกล่าวต้องสอดคล้องกับนิยามการเกิดขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ ซ่ึงขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนต้องเกิด ณ แหล่งกําเนิดขยะมูลฝอยที่มีอยู่ในพ้ืนที่ โดยครอบคลุมทั้งขยะมูลฝอยที่นํามาท้ิงในถังขยะ ขยะมูลฝอยที่นํากลับมาใช้ประโยชน์ และขยะมูลฝอยที่ตกค้างจากการเก็บขน

    ตารางที่ 3 แสดงอัตราการเกิดขยะมูลฝอยชุมชนเฉล่ียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

    อัตราการเกิดขยะมูลฝอย กิโลกรัม/คน/วัน เทศบาลนคร 1.89 เทศบาลเมือง 1.15 เทศบาลตําบล 1.02 เมืองพัทยา 3.90

    องค์การบริหารส่วนตําบล 0.91 (ที่มา : โครงการการศึกษาทบทวนอัตราการเกิดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ของกรมควบคุมมลพิษ, เมษายน 2555)

    - ช่องที่ 4 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนไปกําจัด (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเก็บขนได้ ไม่ว่าจะเป็นการดําเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง หรือเป็นการจ้างให้เอกชนดําเนินการเก็บขน หรือเป็นการจ้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดําเนินการเก็บขนให้ก็ตาม โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    - ช่องที่ 5 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่มีการถูกดึงกลับไปใช้ประโยชน์ก่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บขนไปกําจัด หรือก่อนเข้าสู่สถานที่กําจัดขยะมูลฝอย โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน หรือ โดยคํานวณจาก ข้อมูลช่องที่ 3 ลบด้วย ข้อมูลช่องที่ 4 ลบด้วย ข้อมูลช่องที่ 6

    ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึน = อัตราการเกิดขยะมูลฝอย X จํานวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ (กิโลกรัม/คน/วัน) (คน)

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    11

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    - ช่องที่ 6 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ไม่มีการให้บริการ (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถเก็บขนได้ในพ้ืนที่ให้บริการ (ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างในพ้ืนท่ีให้บริการ) อาจได้จากการประเมินปริมาณขยะมูลฝอย โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จากการสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

    - ช่องที่ 7 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่กําจัดไม่ถูกต้อง (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนําไปกําจัด โดยวิธีการกําจัดแบบไม่ถูกต้อง ประกอบด้วย การกําจัดแบบ เทกอง (Open Dump) การฝังกลบแบบเทกองควบคุม (Control Dump) ขนาดตั้งแต่ 50 ตัน/วัน เผากลางแจ้ง (Open Burning) และเตาเผาที่ไม่มีระบบกําจัดมลพิษทางอากาศ โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินและการสํารวจสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยโดยสํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคทั้ง 16 ภาคและสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด

    - ช่องที่ 8 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่กําจัดถูกต้อง (ล้านตัน/ปี) (ตารางที่ 4) คือ ปริมาณขยะ มูลฝอยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนําไปกําจัดได้ โดยวิธีการกําจัดแบบถูกต้อง ประกอบด้วย

    (1) การกําจัดแบบถูกหลักวิชาการ ประกอบด้วย การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) การฝังกลบเชิงวิศวกรรม (Engineer Landfill) เตาเผาที่มีระบบกําจัดมลพิษทางอากาศ (Incinerator) การแปรรูปเพ่ือผลิตพลังงาน (WTE) การหมักทําปุ๋ย (Compost) การจัดการขยะ มูลฝอยแบบเชิงกล – ชีวภาพ (MBT) และกระบวนการกําจัดแบบผสมผสาน (Integrated waste treatment)

    (2) การกําจัดแบบยอมรับได้ Appropriate Landfill ประกอบด้วย การฝังกลบแบบเทกองควบคุม (Control Dump) ขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน และเตาเผา ขนาดน้อยกว่า 10 ตัน/วัน ที่มีระบบกําจัดอากาศเสียเบื้องต้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    12

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    ตารางที่ 4 แสดงรายการจําแนกการกําจัดขยะมูลฝอยชุมชนแบบถูกต้องและไม่ถูกต้อง กําจัดแบบถูกต้อง กําจัดแบบไม่ถูกต้อง

    การกําจัดแบบถูกหลักวิชาการ การกําจัดแบบยอมรับได้ การกําจัดแบบไม่ถูกหลักวิชาการ

    Engineer Landfill Sanitary Landfill เตาเผา WTE Compost MBT ผสมผสาน

    Appropriate Landfill เช่น Control Dump ขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน

    เตาเผา ขนาดน้อยกว่า 10 ตนั/วัน ที่มีระบบกําจัดอากาศเสียเบื้องต้น

    Open Dump Control Dump ขนาดตั้งแต ่

    50 ตัน/วัน ข้ึนไป Open Burning เตาเผาที่ไม่มีระบบกําจัด

    มลพิษทางอากาศ

    - ช่องที่ 9 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่มีการถูกดึงกลับไปใช้ประโยชน์ในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอย ซ่ึงอาจได้จากระบบคัดแยกโดยเครื่องจักร หรือแรงงานคน โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    - ช่องที่ 10 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่นําไปกําจัด (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปกําจัด ภายหลังจากมีการคัดแยกขยะมูลฝอยส่วนหนึ่งในสถานที่กําจัดกลับไปใช้ประโยชน์แล้ว โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    - ช่องที่ 11 – 14 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่นําไปกําจัด (ล้านตัน/ปี) โดยจําแนกออกเป็นวิธีการกําจัด 4 วิธี ประกอบด้วย การฝังกลบ การหมักทําปุ๋ย เตาเผา และอ่ืน ๆ

    2. พ้ืนที่ที่ไม่มีการให้บริการ (เก็บขนไปกําจัด) ได้แก่ ข้อมูลตั้งแต่ช่องที่ 15 - 17

    - ช่องที่ 15 คือ จํานวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีการให้บริการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดําเนินการให้ประชาชนกําจัดขยะมูลฝอยในพ้ืนท่ีเอง ไม่มีการเก็บขนขยะมูลฝอยออกจากพ้ืนที่เพื่อนําไปกําจัด (แห่ง)

    - ช่องที่ 16 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนในพ้ืนที่ที่ไม่มีการให้บริการ (ล้านตัน/ปี) โดยข้อมูลดังกล่าวอาจได้จากการคํานวณ อัตราการเกิดขยะมูลฝอย (จากการศึกษาของกรมฯ) คูณด้วย จํานวนประชากรตามทะเบียนราษฏร์ในพื้นท่ีที่ไม่มีการให้บริการ หรือจากการประเมินปริมาณขยะมูลฝอยของ

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    13

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    หน่วยงานวิชาการอื่น ๆ ที่ตรงตามนิยามการเกิดขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการศึกษาปริมาณขยะมูลฝอยด้วยตัวเอง

    - ช่องที่ 17 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่มีการถูกดึงกลับไปใช้ประโยชน์ในพ้ืนที่ที่ไม่มีการให้บริการ ซ่ึงข้อมูลดังกล่าวอาจได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่

    - ช่องที่ 18 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่กําจัดไม่ถูกต้อง (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ครัวเรือน/ชุมชน/หมู่บ้าน กําจัดกันเอง ซ่ึงข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถหาได้จากแบบสํารวจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จําเป็นจะต้องมีการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่ต่อไป

    - ช่องที่ 19 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ (ล้านตัน/ปี) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ หรือ โดยคํานวณจาก ข้อมูลช่องท่ี 5 บวกด้วย ข้อมูลช่องที่ 9 บวกด้วย ข้อมูลช่องที่ 17

    และช่องที่ 20 คือ ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้าง (ตัน) คือ ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้าง ที่ถูกท้ิงกองไว้หรืออยู่ในบ่อของสถานท่ีกําจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกต้อง เช่น การเทกอง (Open Dump) หรือ พ้ืนที่ลักลอบท้ิง หรือพ้ืนที่เทกองและเผากําจัด เป็นต้น โดยสามารถคํานวณได้จาก ปริมาตรของกองขยะ มูลฝอย (ขยะมูลฝอยที่ท้ิงกองหรืออยู่ในหลุม) คูณด้วย ความหนาแน่น (ความหนาแน่นเฉล่ียของการ เทกองกําจัด = 0.3 ตัน/ลบ.ม.) ดังนี้

    ปริมาณขยะมลูฝอย = กว้าง x ยาว x สูง x ความหนาแน่น

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    14

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    2.3 ผลการประเมินสถานการณ์ขยะมูลฝอย

    กรมควบคุมมลพิษ โดยสํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย สํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 และสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ได้ดําเนินโครงการสํารวจข้อมูลขยะมูลฝอยทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2559 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ประกอบด้วย เทศบาลและเมืองพัทยา จํานวน 2,442 แห่ง องค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 5,334 แห่ง ในการจัดทําแบบสํารวจ และการลงพ้ืนที่เพ่ือสํารวจภาคสนาม เพ่ือให้ได้มาซ่ึงข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยที่เป็นปัจจุบัน

    จากการสํารวจข้อมูลด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย (ตารางที่ 5) พบว่า ในปี 2559 มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนเกิดข้ึน ประมาณ 27.06 ล้านตัน หรือประมาณ 74,130 ตันต่อวัน โดยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตําบล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) จํานวน 7,777 แห่ง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการดําเนินการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยชุมชน จํานวน 4,711 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่ไม่มีการดําเนินการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยชุมชน จํานวน 3,066 แห่ง (ภาคผนวก ก)

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการดําเนินการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยชุมชน จํานวน 4,711 แห่ง พบว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนเกิดข้ึนทั้งหมด ประมาณ 21.05 ล้านตัน หรือประมาณ 57,663 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 78 ของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดข้ึนทั้งประเทศ โดยพบว่า ปริมาณขยะ มูลฝอยชุมชนที่มีการดําเนินการเก็บขน เพ่ือนําไปกําจัดทั้งส้ิน ประมาณ 15.76 ล้านตัน หรือประมาณ 43,173 ตันต่อวัน โดยขยะมูลฝอยชุมชนที่เก็บขนได้ ถูกขนส่งไปยังสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ประมาณ 9.75 ล้านตัน หรือ 26,721 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 62 ของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่ เก็บขนได้ ทั้งนี้ ภายในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องมีการคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนนําไปกําจัด ทําให้ขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบกําจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องมีปริมาณ 9.75 ล้านตัน หรือ 26,221 ตันต่อวัน ในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องและใช้งานได้ จํานวน 328 แห่ง

    สําหรับปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนอีกประมาณ 6.01 ล้านตัน หรือ 16,452 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เก็บขนได้ จะถูกนําไปกําจัดยังสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเผากลางแจ้ง การเทกองทิ้งในบ่อดินเก่าหรือพื้นที่รกร้าง การกําจัดขยะมูลฝอยในพ้ืนที่ฝังกลบขยะมูลฝอยแบบเทกองควบคุมที่มีขนาดรองรับขยะมูลฝอยมากกว่า 50 ตันต่อวัน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กและในพ้ืนที่ห่างไกล พบว่ามีสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง จํานวน 2,468 แห่ง (ภาคผนวก ข)

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    15

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีการดําเนินการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยชุมชน จํานวน 3,066 แห่ง พบว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนเกิดข้ึนทั้งหมด ประมาณ 6.01 ล้านตัน หรือ 16,467 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 22 ของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดข้ึนทั้งประเทศ โดยขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนน้ี ประชาชนในพื้นที่จะดําเนินการกําจัดในครัวเรือน โดยการเทกองและเผาในที่โล่ง หรือลักลอบท้ิงในพ้ืนที่สาธารณะ ซ่ึงอาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในอนาคตได้

    สําหรับปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่สามารถคัดแยก เพ่ือนํากลับมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด ประมาณ 5.81 ล้านตัน หรือ 13,482 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 21 ของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ที่เกิดข้ึนทั้งประเทศ

    ตารางที่ 5 ขอ้มูลการสํารวจขยะมูลฝอยชุมชน ปี 2559 ช่องที่ รายละเอียด 76 จังหวัด กทม. 77 จังหวัด

    เทศบาลและเมืองพัทยา (แห่ง) 2,441 - 2,441 อบต. (แห่ง) 5,335 - 5,335 รวม อปท. (แห่ง) 7,776 1 7,7771 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึน (ล้านตัน/ป)ี 22.85 4.21 27.062 จํานวน อปท. ที่มีการให้บริการ (แห่ง) 4,710 1 4,7113 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดข้ึนใน อปท.ที่มีการให้บริการ

    (ล้านตัน/ป)ี 16.84 4.21 21.05

    4 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกเก็บขนนําไปกําจัด (ล้านตัน/ป)ี 12.03 3.73 15.765 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ในพ้ืนที่

    อปท. ที่มีการให้บริการเก็บขน (ล้านตัน/ป)ี 4.53 0.48 5.01

    6 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ไม่มีการให้บริการเก็บขน ใน อปท. ที่มีการให้บริการ (ล้านตัน/ป)ี

    0.28 - 0.28

    7 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปกําจัดแบบไม่ถูกต้อง (ล้านตัน/ป)ี

    6.01 - 6.01

    8 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปกําจัดแบบถูกต้อง (ล้านตัน/ป)ี

    6.02 3.73 9.75

    9 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ ในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบถูกต้อง (ล้านตัน/ป)ี

    0.18 - 0.18

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    16

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    ตารางที่ 1 ขอ้มูลการสํารวจขยะมูลฝอยชุมชน ปี 2559 ช่องที่ รายละเอียด 76 จังหวัด กทม. 77 จังหวัด

    10 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้กําจัดแบบถูกต้อง (ล้านตัน/ป)ี

    5.84 3.73 9.57

    11 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกําจัดโดยระบบ Landfill(ล้านตัน/ป)ี

    4.64 3.18 7.82

    12 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกําจัดโดยระบบ Compost(ล้านตัน/ป)ี

    0.06 0.44 0.50

    13 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกําจัดโดยระบบ Incinerator(ล้านตัน/ป)ี

    0.59 0.11 0.70

    14 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกําจัดโดยระบบอื่น ๆ (ล้านตัน/ป)ี

    0.55 - 0.55

    15 จํานวน อปท. ที่ไม่มีการให้บริการ (แห่ง) 3,066 - 3,06616 ปริมาณขยะมลูฝอยที่เกิดข้ึนใน อปท. ที่ไม่มีการให้บริการ

    (ล้านตัน/ป)ี 6.01 - 6.01

    17 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ (ล้านตัน/ป)ี 0.62 - 0.6218 ปริมาณขยะมูลฝอยที่กําจดัแบบไม่ถูกต้อง (ล้านตัน/ป)ี 5.39 - 5.3919 ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด

    (ล้านตัน/ป)ี 5.33 0.48 5.81

    20 ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้าง (ล้านตัน) 9.96 - 9.96

    หมายเหตุ : และคําอธิบายรายละเอียดข้อมูล 20 ช่อง ในแผนการไหลของขยะมูลฝอย (Flow Diagram) ดังแสดงใน ภาคผนวก ค

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    17

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    รูปที่ 3 แผนภาพการไหลของขยะมูลฝอยชุมชน ป ี2559

    อปท. ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น

    (ล้านตัน) (ร้อยละ)กทม. 4.21 16%

    เทศบาล และเมืองพัทยา

    11.16 41%

    อบต. 11.69 43%รวม 27.06 100%

    รูปที่ 4 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ป ี2559

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    18

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    ในปี 2559 จากการดําเนินการอย่างต่อเนื่องเพ่ือผลักดันนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา โดยระบุให้การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งดําเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เป็นปัญหาด้านส่ิงแวดล้อมที่สําคัญของประเทศ ให้ดําเนินการได้อย่างถูกต้องเพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการตกค้างของขยะมูลฝอยในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนินการอย่างไม่ถูกต้องให้หมดไป รวมทั้งให้มีแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในระดับจังหวัด และระดับประเทศ เพ่ือให้การดําเนินการด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

    กรมควบคุมมลพิษ โดยสํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย และสํานักงานส่ิงแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 ได้รับความร่วมมือจากสํานักงานทรัพยากรส่ิงแวดล้อมจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสํารวจข้อมูลด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในปี 2559 เป็นอย่างดี จากการสํารวจพบว่าปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มที่เปล่ียนแปลงไป รายละเอียดดังตารางที่ 6

    ตารางที่ 6 แสดงข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยระหว่างปี 2558 และปี 2559

    รายละเอียด ปริมาณขยะมูลฝอย (ตัน/ปี) การเปลี่ยนแปลง

    (ร้อยละ) ปี 2558 ปี 2559 ขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้น 26.85 27.06 +0.78ขยะมูลฝอยชุมชนที่เก็บขนได้ 15.49 15.76 +1.74ขยะมูลฝอยชุมชนที่กําจัดอย่างถูกต้อง 8.29 9.75 +13.99ขยะมูลฝอยชุมชนที่ใช้ประโยชน์ 4.94 5.81 +17.61ขยะมูลฝอยชุมชนที่ตกค้าง 10.46 9.96 -4.78

    จากตารางพบว่าปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนในป ี2559 เพิ่มข้ึนจากป ี2558 เพียงเล็กน้อยเทียบเป็นร้อยละ 0.78 เนื่องจากจํานวนประชากรที่เพ่ิมข้ึน รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นฟูข้ึนกว่าปีที่ผ่าน รวมทั้งแนวโน้มการจัดการขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มดีข้ึนกว่าปีที่ผ่านมา ทั้ง การเก็บขนขยะมูลฝอย การกําจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง และการนําขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ ที่ร้อยละการเปล่ียนแปลงเป็นไปในแนวทางที่ดีเพ่ิมมากข้ึน ในปี 2559 ขยะมูลฝอยได้รับเก็บขนและรวบรวมเข้าสู่สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องเพ่ิมมากข้ึนส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการกําจัดอย่างถูกต้องเพ่ิมมากข้ึน คิดเป็นปริมาณท้ังส้ิน 9.75 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 2558 แล้ว (8.29 ล้านตันต่อป)ี มีร้อยละการกําจัดขยะมูลฝอยชุมชนอย่างถูกต้องเพ่ิมข้ึน 13.99

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    19

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    สําหรับการใช้ประโยชน์ของขยะมูลฝอยในปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 แล้วพบว่ามีแนวโน้มที่เพ่ิมมากข้ึนถึงร้อยละ 17.61 ซ่ึงการเพิ่มข้ึนของปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกดึงนํากลับไปใช้ประโยชน์น้ี สืบเนื่องจากกระแสการลด และใช้ประโยชน์ขยะมลูฝอยในแหล่งกาํเนิดขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากข้ึน รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริม การสร้างจิตสํานึกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงป ี2559 ที่ผ่านมา ในช่วงต้นปี 2558 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัด ได้ดําเนินการสํารวจปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนินการไม่ถูกต้อง โดยพบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยดังกล่าวอยู่ถึงกว่า 30 ล้านตัน แต่เมื่อดําเนินการสํารวจข้อมูล ณ ปลายปี 2558 แล้วพบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างดังกล่าวมีปริมาณลดลงกว่าร้อยละ 65 (10.46 ล้านตัน) เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปรับปรุงสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยให้สามารถดําเนินการได้อย่างถูกต้อง การปรับปรุงสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยของเอกชนให้ดําเนินการได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งดําเนินการกําจัดขยะมูลฝอยตกค้าง ด้วยกระบวนการท่ีเหมาะสม เป็นต้น ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างมีการจัดการให้ถูกต้องและลดลงในช่วงปี 2558 ทั้งน้ี ในปี 2559 ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างมีปริมาณลดลงจากปี 2558 เป็น 9.96 หรือ 0.5 ล้านตัน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดําเนินการปรับปรุงสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยจากพ้ืนที่เทกอง เป็นเทกองควบคุม การกลบทับขยะมูลฝอยที่กองท้ิงไว้ด้วยดิน รวมทั้งหยุดดําเนินการสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถดําเนินการได้ จึงส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่ตกค้างอยู่ในสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยมีปริมาณที่ลดลง แต่อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ห่างไกลยังคงมีจํานวนของสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยขนาดเล็กและพ้ืนที่ลักลอบทิ้งอยู่เป็นจํานวนมาก ซ่ึงองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินและจังหวัดเจ้าของพ้ืนที่ต้องมีมาตรการกํากับและบังคับให้ปรับเปล่ียนเป็นการกําจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องต่อไป 2.4 สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบถูกต้องและไม่ถูกต้อง

    สําหรับปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกเก็บขนนําไปกําจัด จํานวน 15.76 ล้านตัน จะถูกกําจัด ณ สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยทั้งแบบถกูต้องและไม่ถูกต้อง จํานวน 2,810 แห่ง ทั่วประเทศ ประกอบด้วยสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบถูกต้อง ได้แก่ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) การกําจัดขยะมูลฝอยแบบการฝังกลบเชิงวิศวกรรม (Engineer Landfill) การฝังกลบแบบเทกองควบคุม (Control Dump) ขนาดไม่เกิน 50 ตัน/วัน เตาเผาที่มีระบบบําบัดมลพิษทางอากาศ การแปรรูปเพ่ือผลิตพลังงาน (WTE) การหมักทําปุ๋ย (Compost) การบําบัดขยะมูลฝอยแบบเชิงกล – ชีวภาพ (MBT) และการกําจัดแบบผสมผสาน จํานวน 330 แห่ง (ภาคผนวก ข) และสถานท่ีกําจัดขยะมูลฝอยแบบ ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การกําจัดขยะมูลฝอยแบบเทกอง (Open Dump) การฝังกลบแบบเทกองควบคุม (Control Dump) ขนาดมากกว่า 50 ตัน/วัน การเผากําจัดกลางแจ้ง (Open Burning) หรือการกําจัดโดยใช้เตาเผาที่ไม่มีระบบกําจัดมลพิษทางอากาศ จํานวน 2,480 แห่ง (ภาคผนวก ข) นอกจากน้ีแล้วพบว่า

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    20

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    มีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยในปี 2559 ทั้งส้ิน 14 แห่งโดยแบ่งเป็นดําเนินการโดยภาครัฐ 7 แห่ง และเอกชน 7 แห่ง รายละเอียดดังตารางที่ 7 8 และ 9

    ตารางที่ 7 สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบถูกต้อง ป ี2558 ที่เปิดดําเนินการ สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบถูกต้อง

    รวมทั้งสิ้น 330 แห่ง รัฐบาล เอกชน

    ประเภท จํานวน (แห่ง) ประเภท จํานวน (แห่ง)การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภบิาล/ การฝังกลบเชงิวศิวกรรม

    84 การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภบิาล/ การฝังกลบเชงิวศิวกรรม

    8

    การฝังกลบแบบเทกองควบคุม ขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน

    129 การฝังกลบแบบเทกองควบคุมขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน

    73

    เตาเผาที่มรีะบบกําจัดมลพษิทางอากาศ 1 เตาเผาที่มรีะบบกําจัดมลพษิทางอากาศ 6เตาเผาขนาดน้อยกว่า 10 ตัน/วัน ที่มีระบบกําจัดอากาศเสีย (ไซโคลน)

    12 เตาเผาขนาดน้อยกว่า 10 ตัน/วัน ที่มีระบบกําจัดอากาศเสีย (ไซโคลน)

    -

    ระบบคัดแยก หมักทําปุ๋ย และฝังกลบอย่างถูกต้อง

    9 ระบบคัดแยก หมักทําปุ๋ย และฝังกลบอย่างถูกต้อง

    3

    การกําจัดขยะมูลฝอยแบบเชิงกล – ชีวภาพ

    4 การกําจัดขยะมูลฝอยแบบเชิงกล – ชีวภาพ

    1

    รวม (รัฐบาล) 239 รวม (เอกชน) 91หมายเหตุ การกําจัดขยะมูลฝอยแบบเชิงกล – ชีวภาพ (MBT) ดําเนินการโดย อปท. ในพ้ืนที่ ทน.พิษณุโลก ทต.นครไทย จังหวัดพิษณุโลก ทต.ลานกระบือ (กําแพงเพชร) อบต.เกาะยาวน้อย (พังงา) ดําเนินการโดยเอกชน ได้แก่ ทม.จันทบุรี ดําเนินการโดยบริษัทโชคชัย เอ็นไวรอนเมนทอล จํากัด

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    21

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    ตารางที่ 8 สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกต้อง ป ี2559 ที่เปิดดําเนินการ สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกต้อง

    รวมทั้งสิ้น 2,480 แห่ง รัฐบาล เอกชน

    ประเภท จํานวน (แห่ง) ประเภท จํานวน (แห่ง)การฝังกลบแบบเทกองควบคุม ขนาดมากกว่า 50 ตัน/วัน

    6 การฝังกลบแบบเทกองควบคุม ขนาดมากกว่า 50 ตัน/วัน

    9

    การกําจัดแบบเทกอง 1,802 การกําจัดแบบเทกอง 255การกําจัดแบบเผากลางแจ้ง 326 การกําจัดแบบเผากลางแจ้ง 8เตาเผาที่ไม่มีระบบกําจัดมลพิษทางอากาศ

    59 เตาเผาที่ไม่มีระบบกําจัดมลพิษทางอากาศ

    15

    รวม (รัฐบาล) 2,193 รวม (เอกชน) 287

    ตารางที่ 9 แสดงสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย ป ี2559 ที่เปิดดําเนินการ สถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย

    รวมทั้งสิ้น 14 แห่ง รัฐบาล เอกชน 7 แห่ง 7 แห่ง

    จากข้อมูลการสํารวจสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยในปี 2559 พบว่ามีจํานวนสถานที่กําจัดขยะ มูลฝอยที่ดําเนินการทั้งหมด 2,810 แห่ง และสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยจํานวน 14 แห่ง โดยพบว่าสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนินการอย่างถูกต้องมีจํานวนลดลง เนื่องจากสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยแบบ เทกองควบคุมขนาดน้อยกว่า 50 ตันต่อวัน การปรับเปล่ียนรูปแบบการดําเนินงานจากการเทกองแบบ มีการควบคุม (Control Dump) กลับเป็นการกําจัดแบบเทกองแทน เนื่องจากท้องถ่ินประสบปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหางบประมาณ การจัดหาดินฝังกลบ และขาดแคลนเจ้าพนักงานผู้ดูแล เป็นต้น รวมท้ังมีสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยบางแห่งปิดดําเนินการไป จึงส่งผลให้จํานวนสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนินการอย่างถูกต้องลดลง มีจํานวนที่ลดลง

    สําหรับสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยจํานวน 14 แห่ง พบว่าดําเนินการโดยเอกชนจํานวน 7 แห่ง ดําเนินการรวบรวมขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกําจัดยังสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยของเอกชนเอง ซ่ึงสถานท่ีกําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนินการโดยเอกชนท่ีมีขนาดใหญ่ อยู่ในพ้ืนที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ สถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยอ่อนนุช สถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยหนองแขม และสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยท่าแร้ง (สายไหม) ซ่ึงสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยอ่อนนุชดําเนินการรวบรวมและ

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    22

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    ขนส่งขยะมูลฝอยไปกําจัดโดยกระบวนการฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยท่าแร้งและหนองแขม ซ่ึงดําเนินการรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอยไปกําจัดโดยกระบวนการฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการที่จังหวัดนครปฐม ทั้งน้ี สําหรับสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยหนองแขมได้แบ่งพ้ืนที่บางส่วนดําเนินการก่อสร้างเตาเผาขยะมูลฝอยขนาด 300 ตัน/วัน ดําเนินการโดยเอกชนทั้งนี้ในปี 2559 ได้เปิดดําเนินงานแล้ว

    นอกจากนี้แล้ว จากข้อมูลการสํารวจพบว่าจํานวนสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนินการแบบ เทกองถูกสํารวจพบมากข้ึน โดยเฉพาะบ่อรองรับขยะมูลฝอยขนาดเล็กหรือบ่อหมู่บ้านมีการสํารวจ พบมากข้ึนกว่าปีที่ผ่านมา

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    23

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    บทที่ 3 สถานที่กําจัดขยะมูลฝอย ท่ีประสบปญัหาไม่สามารถ

    ก่อสร้างหรือเปิดดําเนินการได้

  • สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559  

    24

    ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักจัดการกากของเสยีและสารอันตราย สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 76 จังหวัด

    บทที่ 3 สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ประสบปญัหาไม่สามารถก่อสร้างหรือเปิดดําเนินการได้

    จากการรวบรวมข้อมูลสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยซ่ึงได้รับการสนับสนุนงบประมาณผ่าน

    แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพส่ิงแวดล้อมในระดับจังหวัด ซ่ึงพบว่าการดําเนินการทั่วประเทศ สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยในบางพ้ืนท่ีซ่ึงได้รับงบประมาณในการก่อสร้างแล้วไม่สามารถดําเนินงานได้ พบว่าในปี พ.ศ. 2559 มีจํานวนสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ประสบปัญหาทั้งส้ิน 23 แห่ง (ตารางที่ 9) ภาคผนวก ค ตารางที่ 9 สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ประสบปัญหาไม่สามารถดําเนินการ

    ที่ จังหวัด หน่วยงานรับผิดชอบ โครงการ สถานภาพ

    1 เชียงใหม ่ อบจ.เชียงใหม ่ โรงงานคัดแยกขยะและทําปุย๋ชวีภาพ ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เปิดดําเนินการไม่ได้2 เชียงราย ทน.เชียงราย โรงงานคัดแยกขยะและทําปุย๋ชวีภาพ ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เปิด�